สิทธ์ประกันสังคม

เงินที่ประกันสังคมใช้จ่ายเพื่อสิทธิประโยชน์


มาจากกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ซึ่งทั้ง 2 กองทุน
คือ หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทน
ต่างกันที่ที่มาของเงินและความครอบคลุมในการคุ้มครองเท่านั้น




กองทุนประกันสังคม นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ กำหนดฐานค่าจ้างขั้นต่ำที่ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยส่วนหนึ่ง
สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมที่ลูกจ้างจะได้รับจะมี 7 กรณี ได้แก่
(1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
(2) คลอดบุตร
(3) ทุพพลภาพ
(4) ตาย
(5) สงเคราะห์บุตร
(6) ชราภาพ
(7) ว่างงาน


กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยนายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียว
สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจะมี 4 กรณีได้แก่
(1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
(2) ทุพพลภาพ
(3) ตายหรือสูญหาย
(4) สูญเสียอวัยวะ

 
image

เพราะประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมแค่กลุ่มมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น
แต่แบ่งออกเป็น 3 มาตราหลักที่มอบสวัสดิการให้คนทำงานแต่ละกลุ่ม
แตกต่างกันดังนี้

มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน

มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ


มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
image
มนุษย์เงินเดือนต้องรู้! ว่าคุณคือผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เป็น ลูกจ้างผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน
และจะได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคม 7 กรณี ดังนี้

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ครอบคลุมความเจ็บป่วยทุกรูปแบบ
1.1. กรณีเจ็บป่วยปกติ
1.2. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน
1.3. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต
1.4. กรณีทันตกรรม
2. กรณีคลอดบุตร ทั้งผู้ประกันตนชายและหญิง
3. กรณีทุพพลภาพ
3.1. เงินทดแทนการขาดรายได้
3.2. ค่าบริการทางการแพทย์
4. กรณีตาย
5. กรณีสงเคราะห์บุตร คราวละไม่เกิน 3 คน
6. กรณีชราภาพ รับบำเหน็จ/บำนาญชราภาพตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
7. กรณีว่างงาน
7.1. กรณีถูกเลิกจ้าง
7.2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
7.3. กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
image
จ่ายน้อยแต่คุ้มครองนะ คนทำงานอิสระจ่ายเงินสมทบถูกลงนาน 6 เดือน เช็กด่วน!

แรงงานอิสระมีเฮ! ✨ ประกันสังคมลดเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 นาน 6 เดือน
ตั้งแต่ ส.ค. 2564–ม.ค. 2565 ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก

✅ ทางเลือกที่ 1 คุ้มครอง 3 กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย
จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน อัตราใหม่ลดเหลือ 42 บาท/เดือน

✅ ทางเลือกที่ 2 คุ้มครอง 4 กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ
จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน อัตราใหม่ลดเหลือ 60 บาท/เดือน

✅ ทางเลือกที่ 3 คุ้มครอง 5 กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ สงเคราะห์บุตร
จากเดิมจ่าย ในอัตรา 300 บาท/เดือน อัตราใหม่ลดเหลือ 180 บาท/เดือน 
image

ตกงาน ลาออก เลิกจ้าง หรือออกเพราะโควิด ก็ยังมีสิทธิ์ประกันสังคมดูแลอยู่!

บุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
แล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลาออก
และต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 ได้

โดยสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับมี 6 กรณี ได้แก่
(1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
(2) คลอดบุตร
(3) ทุพพลภาพ
(4) เสียชีวิต
(5) สงเคราะห์บุตร
(6) ชราภาพ

#ประกันสังคม เป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงทางสุขภาพ โดยประกันสังคม เป็นหลักประกันให้กับสมาชิกกลุ่มผู้มีรายได้ และผู้ประกันตน ซึ่งต้องทำการจ่ายเงิน เพื่อสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในการดูแลจะครอบคลุมเรื่องค่าใช้จ่าย กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร สงเคราะห์ชราภาพ ตลอดจนการว่างงาน ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยตามที่กำหนด
 
และหลายคน ก็มี #ประกันสุขภาพ ไว้เช่นกัน ซึ่งประกันสุขภาพ คือ หลักประกันที่บริษัทประกัน จะช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกัน ทั้งกรณีเจ็บป่วย บาดเจ็บ โรคร้ายแรง และช่วยในการดูแลค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากประกันสังคม เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงโดยเฉพาะ
แต่ก็มีหลายคนที่ถามกันมาเยอะว่า … ถ้ามีประกันสังคมแล้ว ประกันสุขภาพ ยังจำเป็นไหม ?

“ ประกันสุขภาพ” และ “ประกันสังคม” มีในเรื่องของความคุ้มครองที่แตกต่างกัน เนื่องจากประกันสุขภาพ จะดูแลค่ารักษาพยาบาลเฉพาะทาง ช่วยลดความเสี่ยงทางด้านการรักษามากขึ้น
ง่ายๆ ก็คือ ประกันสุขภาพมีการครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลได้มากกว่าประกันสังคม ซึ่งก็ยังมีอีกหลายเหตุผลที่ช่วยตอบได้ว่า แท้จริงแล้ว ควรทำประกันสุขภาพควบคู่ไว้หรือไม่
 
ประกันสุขภาพ สามารถเลือกเบี้ยประกันได้
ประกันสังคม เราไม่สามารถเลือกเบี้ยชำระได้ เนื่องด้วยตามที่กฎหมายกำหนด การจะจ่ายมากน้อย หลักๆ ขึ้นอยู่กับฐานเงินเดือนที่ได้รับ แต่สำหรับประกันสุขภาพ สามารถเลือกเบี้ยประกัน และความคุ้มครองเองได้ ซึ่งสามารถเลือกให้เข้ากับความพึงพอใจของคุณเอง

ประกันสุขภาพ สามารถเพิ่มเติมเรื่องความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการ
คุณสามารถเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมได้ หรือถ้ากำลังมองหาประกันที่ครอบคลุมในเรื่องของ โรคร้ายแรง ที่เมื่อต้องเข้ารับการรักษา คุณสามารถเลือกซื้อประกันที่ดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ ซึ่งต่างจากประกันสังคม ที่จะไม่ได้คุ้มครองในเรื่องนี้

ประกันสุขภาพมีโรงพยาบาลให้เลือกมากกว่าประกันสังคม
เมื่อมีประกันสุขภาพ เราสามารถเลือกรับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ ตามรายชื่อโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือของบริษัทประกัน ซึ่งครอบคลุมอยู่ด้วยกันทั่วประเทศ สามารถใช้สิทธิได้ทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ถ้าใช้สิทธิประกันสังคม คุณต้องไปตามโรงพยาบาลที่เลือกลงไว้ในระบบ เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน ที่เกิดการถูกส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นๆ แต่อาจจะต้องมีการสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน

ประกันสุขภาพ ช่วยยกระดับการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น
ทั้งในเรื่องของการพบแพทย์เฉพาะทางได้ การเลือกรับการรักษาที่โรงพยาบาลชั้นนำ ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าที่ไหน จะได้ไม่เสียเวลาคอยรอคิวนาน เลือกหักพักในการรักษาได้ และสามารถจ้างพยาบาลพิเศษได้ แต่ถ้าเป็นประกันสังคม การเข้ารับการรักษาแต่ละครั้ง ใช้เวลาในการรอคิวนาน ห้องพักรวมตามสวัสดิการที่ใช้ และหากต้องการห้องพิเศษ ต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มเอง

ประกันสุขภาพจะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลมากกว่า
ประกันสังคมจะดูแลในเรื่องของการเจ็บป่วยพื้นฐานเท่านั้น หากเกินจากวงเงินที่กำหนด จะต้องออกค่าส่วนต่างเอง แต่ประกันสุขภาพ ดูแลทั้งค่ารักษาพยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเอ็กเรย์ ค่าผ่าตัด ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินหลังเกิดอุบัติเหตุ อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเลยทีเดียว

และทางเราได้ทำเปรียบเทียบในเรื่องของความคุ้มครองค่าใข้จ่ายระหว่างประกันสังคม และประกันสุขภาพไว้ด้านล่าง
ซึ่งจะตอบได้ว่า ประกันสังคมเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงทางสุขภาพในระดับนึง แต่ไม่ได้เพียงพอต่ออัตราค่าใช้จ่ายที่ต้องเจอในอนาคต ดังนั้น จะเห็นว่า การมีประกันสุขภาพเพิ่มเติมไว้ไม่ได้เสียหายแต่อย่างใด แถมได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม ตอบโจทย์ในด้านการแบ่งเบาการรักษาได้มากขึ้นอีกด้วย
image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้