ประกันภัยโดรน Drone Insurance

ในโลกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรประเภทใดก็อาจได้รับผลกระทบจากการถูกลักลอบขโมยข้อมูลของลูกค้าหรือพนักงาน และยิ่งเทคโนโลยีทวีความซับซ้อนขึ้น เรายิ่งเสี่ยงต่อภัยคุกคามดังกล่าวมากขึ้น และนี่คือสาเหตุที่องค์กรต่างๆ ควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยแผนประกันภัยความรับผิดทางไซเบอร์ ประกันไซเบอร์, เป็นการจัดการความเสี่ยงภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรที่ทำธุรกิจด้านไซเบอร์ เพื่อช่วยปกป้องทรัพย์สินทางธุรกิจของท่านจากการคุกคามทางไซเบอร์

     ตามที่ภาครัฐได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำลังจะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจหรือองค์กรของท่านที่ได้ถือครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จากผลของกฎหมายดังกล่าวทำให้ผู้บริหารองค์กรมีความเสี่ยงที่จะต้องถูกฟ้องร้องให้รับผิดตามกฎหมายจาก ความเสี่ยงภัยทางด้านไซเบอร์ จากการบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลไม่ดี (Poor Risk Management)

ข้อมูลอะไรที่สามารถรั่วไหลหรือถูกละเลิด
  • ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า พนักงาน หรือ คู่แข่งทางการค้า
  • ข้อมูลระบุตัวตน
  • ข้อมูลประวัติสุขภาพ
  • ข้อมูลบัตรเครดิต
  • ข้อมูลความลับทางการค้า
  • ข้อตกลง หรือ สัญญาต่างๆ
  • ข้อมูลอื่นๆที่มีการจัดเก็บ ซึ่งสามารถถูกทำลาย นำมาใช้หาผลประโยชน์ ขายต่อ ฯลฯ

ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องมีการทำประกันภัยไซเบอร์
  • การโจมตีทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
  • กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • การฟ้องร้องแบบกลุ่ม
  • ปิดช่องว่างความคุ้มครองของกรมธรรม์อื่นๆ

เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ประกันภัยไซเบอร์ (Cyber Risk Insurance) จึงเข้ามามีบทบาทกับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม

การประกันภัยความปลอดภัยทางระบบไซเบอร์ สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 900,000,000 บาท

ความคุ้มครอง

ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก                      :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี                             :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
การตรวจสอบการจัดการข้อมูล                    :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
ค่าปรับการจัดการข้อมูล                            :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
การกอบกู้ชื่อเสียง                                  :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
ค่าใช้จ่ายในการแจ้งและการเฝ้าระวัง                :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์             :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
ค่าบริการนิติวิทยาศาสตร์เชิงรุก                   :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
ความรับผิดต่อเนื้อหาของสื่อ                       :   คุ้มครองเต็มวงเงินเอาประกัน
การขู่ทำลายทางไซเบอร์                             :   7,500,000 บาท
การหยุดชะงักของเครือข่าย                        :   7,500,000 บาท
 
เบี้ยประกันไซเบอร์ธุรกิจขนาดเล็ก รวมภาษีและอากร (บาท)
 
  ความคุ้มครอง วงเงินจำกัดความรับผิด 7,500,000 บาท
ราคา 47,000 บาท : รายได้ต่อปี ไม่เกิน 15,000,000 ล้านบาท

  ความคุ้มครอง วงเงินจำกัดความรับผิด 15,000,000 บาท
ราคา 70,600 บาท : รายได้ต่อปี ไม่เกิน 15,000,001 - 60,000,000 ล้านบาท
ราคา 87,100 บาท  : รายได้ต่อปี ไม่เกิน 60,000,001 - 120,000,000 ล้านบาท

  ความคุ้มครอง วงเงินจำกัดความรับผิด 22,500,000 บาท
ราคา 148,300 บาท : รายได้ต่อปี ไม่เกิน 120,000,001 - 210,000,000 ล้านบาท
ราคา 199,900 บาท : รายได้ต่อปี ไม่เกิน 210,000,001 - 300,000,000 ล้านบาท

  ความคุ้มครอง วงเงินจำกัดความรับผิด 30,000,000 บาท
ราคา 321,000 บาท : รายได้ต่อปี ไม่เกิน 300,000,001 - 600,000,000 ล้านบาท
ราคา 420,100 บาท : รายได้ต่อปี ไม่เกิน 600,000,001 - 900,000,000 ล้านบาท




เงื่อนไขกรมธรรม์
  วันที่เริ่มคุ้มครองตามกรมธรรม์
  ขอบเขตอำนาจศาลประเทศไทย
  อาณาเขตความคุ้มครองประเทศไทย
  ระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี
  ความรับผิดส่วนแรก 22,500 บาท แต่ละครั้งและทุกๆครั้ง

เงื่อนไขการรับประกัน
  ประเภทธุรกิจของผู้เอาประกันภัยไม่ได้จัดอยู่ในประเภทธุรกิจดังต่อไปนี้
  • ธุรกิจที่ให้บริการด้านเครือข่ายสังคม
  • ธุรกิจที่ให้บริการด้านเครือข่ายวัยผู้ใหญ่
  • ความบันเทิงที่เกี่ยวกับวัยผู้ใหญ่
  • ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มด้านเทรดออนไลน์ หรือธุรกิจที่รายได้มาจากการขายออนไลน์ 100%
  • ผู้รวบรวมข้อมูล
  • ผู้จัดการพนันออนไลน์
  • ธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
  • ธุรกิจที่ให้บริการด้านการทำธุรกรรม ชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิต
  • ธนาคาร หรือ บริษัทผู้ให้สินเชื่อ
  ระบบรักษาความปลอดภัย - ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูก ต้องมีระบบการควบคุมและรักษาความปลอดภัยดังต่อไปนี้
  • มีระบบปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย เช่น มีไฟร์วอลล์ (Firewall) โปรแกรมระบบป้องกันไวรัส หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่เทียบเท่าเพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยระบบ
  • มีระเบียบปฏิบัติในการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบต่างๆ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย เช่น มีการกำหนดรหัสความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานแต่ละคน
  การสำรองข้อมูล (Back up) และการกู้ข้อมูล (Recovery) - ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัมลูก ต้องมีมาตรการ และระเบียบปฏิบัติในการสำรองข้อมูล และการกู้ข้อมูล
  ผู้เอาประกันภัยต้องมีภูมิลำเนา และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในประเทศไทย และไม่มีรายได้ หรือธุรกรรม หรือมีการดำเนินงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนนาดา และทวีปยุโรป
  การเชื่อมต่อของระบบ - ระบบหลักของบริษัทจะต้องไม่ได้เชื่อมต่อกับบริษัทแม่หรือลูกหรือเชื่อมต่อกับเฟรนไซส์
  ประวัติความเสียหาย และเหตุการณ์เรียกร้อง
  ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูก ไม่เคยได้รับความเสียหาย หรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน รวมถึงค่าปรับ ที่เข้าความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์มาก่อนเอาประกัน
  ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูก ไม่ได้รับทราบเรื่องราว หรือการกระทำใดๆ ที่อาจนำไปสู่ความเสียหายหรือการเรียกร้องค่าสินไหมภายใต้ความคุ้มครองกรมธรรม์นี้
รับประกันภัยโดย บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
สตาร์ทอัพจีน เปิดตัวโดรนเกษตร AI แบบใบพัดคู่ ใช้โรเตอร์แค่ 2 ตัว ช่วยรดน้ำ ใส่ปุ๋ย หว่านเมล็ด สั่งได้แค่เพียงแค่ปลายนิ้วคลิก
ใครอยากมี “โดรน” ต้องติดตามคลิปนี้ค่ะ ! สำนักงาน กสทช. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับการใช้งานเป็นการทั่วไป หรือประกาศโดรนฉบับใหม่ ผู้ที่ครอบครองโดรนจะต้องขึ้นทะเบียน ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ครอบครอง รายละเอียดเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามต่อได้ในคลิปนี้

ทำไมต้องทำประกันโดรน

วิธีการการสมัครประกันโดรน 

เอกสารในการสมัคร

  • บัตรประชาชนผู้บังคับโดรน 
  • หลักฐานการชำระเงิน 
  • แจ้งที่อยู่จัดส่งกรมธรรม์
  • รูปถ่ายโดรน เห็น Serial number ชัดเจน

เพียงเท่านี้! ท่านก็สามารถสมัครประกันโดรนได้แล้ว ^^"

     ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้โดรนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในเชิงพาณิชย์หรือใช้งานส่วนตัว "ประกันภัยโดรน" จึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยบรรเทาค่าเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุทั้งตัวโดรนรวมถึงผู้ใช้งาน และกฎหมายการใช้โดรนในไทยบังคับให้ผู้ใช้งานโดรนทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอใบอนุญาตเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ เพื่อเป็นการจัดระเบียบใช้งานโดรนขึ้นมา

ทีนี้เรามาดูรายละเอียดกฎหมายโดรนในไทย ที่เจ้าของโดรนต้องรู้กันเถอะ!!!

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558  ซึ่งลงประกาศตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อากาศยานในประกาศนี้แบ่งเป็นสองประเภทตามวัตถุประสงค์คือ

ประเภท 1 ใช้เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา โดยที่ขนาดของโดรนต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และกำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ประเภท 2 ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากตามประเภท 1 คือรายงานข่าว รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ วิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือเพื่อการอื่น ๆ และกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม
หากผู้ใดทำกระทำความผิดต่อกฎอย่างใดอย่างหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ หนังสือการขึ้นทะเบียนมีอายุ 2 ปีตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

สำหรับการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ โดรนนั้น

1.โดรนประเภทไหนต้องไปขึ้นทะเบียนบ้าง?
โดรนติดกล้องต้องลงทะเบียนทุกกรณี
โดรนที่หนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องลงทะเบียนทุกกรณี
โดรนที่น้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
สรุปง่ายๆ คือน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่ติดตั้งกล้อง ใช้สำหรับงานอดิเรก ไม่ต้องขึ้นทะเบียน แต่ถ้าติดตั้งกล้องต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี หรือหากไม่มีกล้องแต่มีน้ำหนักระหว่าง 2 – 25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน ส่วนกรณีน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

2. ต้องขึ้นทะเบียนกี่ที่ ? ไปที่ไหนบ้าง?

การขึ้นทะเบียนโดรนจะต้องไปขึ้น 2 ที่ ทั้งที่ กสทช. และ กรมการบินพลเรือน มีรายละเอียดดังนี้

2.1 ขึ้นทะเบียนกับ กสทช.
ถ้าเป็นรถก็เปรียบเสมือนการทำทะเบียนว่าเรามีโดรนอยู่ในครอบครองสามารถขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงาน กสทช. และสถานีตำรวจทั่วประเทศ

2.2 ขึ้นทะเบียนกับกรมการบินพลเรือน

ถ้าเป็นรถก็เปรียบเสมือนการทำใบขับขี่โดรนสามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานของกรมการบินพลเรือน หรือยื่นผ่านทางอีเมลได้ (ตามรายละเอียดด้านบน)
สรุป ต้องไปขึ้นทะเบียนทั้ง 2 ที่  ขึ้นทะเบียนกับ กสทช. อย่างเดียว ในทางกฏหมายยังไม่สามารถนำโดรนขึ้นบินได้ ต้องไปขึ้นทะเบียนหรือทำใบขับขี่โดรนที่กรมการบินพลเรือนด้วย

3. หลักฐานการขึ้นทะเบียนโดรนมีอะไรบ้าง ?

3.1 เอกสาร หลักฐานการขึ้นทะเบียนกับ กสทช.
  • คำขอขึ้นทะเบียน เครื่องวิทยุคมนาคม
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ภาพถ่ายตัวลำของโดรน (ปริ้นท์ใส่กระดาษมา)
3.2 เอกสาร หลักฐานการขึ้นทะเบียนกับกรมการบินพลเรือน

  • คำขอขึ้นทะเบียน ผู้บังคับหรือปล่อย Drone
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ใบกรมธรรม์ของประกันภัยอุบัติเหตุของโดรน

ลงทะเบียน ได้ที่ สํานักงาน กสทช. ถนนพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) พญาไท กรุงเทพฯ สํานักงาน กสทช. ภาค - สํานักงาน กสทช. เขต ทั่วประเทศ หรืิอ สถานีตํารวจทั่วประเทศ

4. ขึ้นทะเบียนโดรนมีค่าใช้จ่ายไหม ?

ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนโดรนทั้ง 2 หน่วยงานนั้นไม่มีครับ แต่ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ตรงที่การลงทะเบียนกับกรมการบินพลเรือนจะต้องมีประกันภัยอุบัติเหตุของโดรนด้วย เหมือนการทำประกันรถยนต์ ซึ่งการที่จะได้กรมธรรม์มานั้นแน่นอนว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทประกัน ซึ่งจากข้อมูลที่ผมมี(ยังไม่ยืนยัน)คร่าวๆ เบี้ยประกันโดรนจะเริ่มต้นที่ ปีละ 3,000 บาท

ขอบคุณ ข้อมูลจาก สำนักงานการบนพลเรือนแห่งประเทศไทย

image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้