ความรับผิดทางกฎหมาย
• ความรับผิดทางอาญา (Criminal Liability) เช่น ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต เป็นต้น
• ความรับผิดทางแพ่ง (Civil Liability) เช่น ความผิดฐานละเมิด เป็นต้น
• ความรับผิดตามพระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งมีโทษจำเพาะ คือ ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตไม่เกิน 2 ปี และเพิกถอนใบอนุญาต โดยแพทยสภาเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการ
ความคุ้มครองเบื้องต้น
การประกันภัยความรับผิดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ช่วยบรรเทาความรับผิดของแพทย์จากการถูกเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ป่วยที่ผลการรักษาไม่เป็นไปตามความคาดหวัง โดยประกันคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายในการให้บริการทางแพทย์ที่ผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนา นอกจากนี้ยังคุ้มครองรวมถึงค่าใช้จ่ายในการต่อสู้
สาขาวิชาชีพแพทย์ | เบี้ยประกันภัยรวมภาษีและอากร (บาท) | ||
คุ้มครองการรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลทั่วประเทศ รวมคลีนิคส่วนตัว | |||
1,000,000 บาทต่อครั้งและ 2,000,000 บาทตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย | 2,000,000 บาทต่อครั้งและ 4,000,000 บาทตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย | 3,000,000 บาทต่อครั้งและ 6,000,000 บาทตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย | |
ไม่มีค่ารับผิดส่วนแรก | |||
อายุรแพทย์ จิตแพทย์ พยาธิแพทย์ ทันตแพทย์ กุมารแพทย์ | 6,900.00 | 9,600.00 | 12,400.00 |
จักษุแพทย์ ศัลยแพทย์ หู คอ จมูก รังสีแพทย์ แพทย์ทางโลหิตวิทยา แพทย์ทางมะเร็งวิทยา แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ที่มีทำหัตถการ | 7,600.00 | 10,900.00 | 14,500.00 |
สูตินารีแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก | 8,300.00 | 12,800.00 | 18,000.00 |
ผลประโยชน์ (หลังจากไม่มีการต่ออายุกรมกรรม์) | ขยายเวลาการแจ้งเหตุต่อไปอีก 3 เดือน - ผู้เอาประกันภัยบอกเลิกหรือไม่ต่ออายุกรมธรรม์ ขยายเวลาการแจ้งเหตุต่อไปอีก 12 เดือน - ผู้เอาประกันภัยบอกเลิกหรือไม่ต่ออายุกรมธรรม์ |
• ดาวน์โหลด ใบสมัครขอเอาประกันภัยสำหรับแพทย์รายบุคคล
• ดาวน์โหลด ใบคำขอเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
เงื่อนไขการประกันภัย :
• แพทย์จะต้องมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของแพทยสภาและไม่เคยถูกเพิกถอน ทั้งนี้ใบประกอบโรคศิลป์จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี (ตามตารางเบี้ยข้างต้น)
• สำหรับกรณีที่แพทย์มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์อายุระหว่าง 1 - 3 ปี คิดค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มอีก 15% ของจำนวนเบี้ยประกันที่ระบุใว้ในตารางข้างต้น
• สำหรับกรณีที่แพทย์มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์อายุเกินกว่า 3 ปี - 5 ปี คิดค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มอีก 10% ของจำนวนเบี้ยประกันที่ระบุใว้ในตารางข้างต้น
• รบกวนแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย เพื่อประกอบในการออกกรมธรรม์ประกันภัย ( ตามกฏระเบียบข้อบังคับ ของ คปภ.)
• สำเนาใบอนุญาต แพทยสภา
ข้อตกลงคุ้มครอง บริษัทจะชดใช้ :
• ค่าสินไหมทดแทนฯ ไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุในแต่ละกรมธรรม์
สำหรับการบาดเจ็บทางร่างกาย หรือจิตใจ หรือการเสียชีวิตของผู้ป่วย ที่มีสาเหตุหรือถูกกล่าวหา ว่าผู้เอาประกันภัยให้บริการทางวิชาชีพผิดพลาด ละเลย หรือขาดความระมัดระวัง (เรียกว่า "การรักษาที่ไม่ได้คุณภาพวิชาชีพ")
• เหตุการ์ที่เกิดขึ้น ต้องเป็นการเรียกร้องเป็นครั้งแรกในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย
• เหตุการ์ที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตความคุ้มครองประเทศไทย และขอบเขตอำนาจศาลไทย
ข้อยกเว้น บริษัท จะไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีดังนี้ :
1. การให้บริการอื่นใดที่นอกเหนือจากขอบเขตของการให้บริการทางวิชาชีพตามปกติในฐานะแพทย์
2. การให้บริการทางการแพทย์ในกรณีของศัลยกรรมตกแต่ง (plastic/esthetic Surgery) ยกเว้นแต่มีการวินิจฉัยหรือเหตุผลทางอายุรเวทจะให้ความคุ้มครองเฉพาะการผ่าตัดเพื่อทำให้กลับเหมือนเดิม (reconstructive surgery) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากอุบัติเหตุ หรือความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด
3. การปฏิบัติการของธนาคารเลือด
4. การใช้ยาเพื่อลดน้ำหนัก
5. การปฏิบัติการของทันตแพทย์และทันตศัลยแพทย์เกี่ยวกับ
• การใช้ยาสลบ
• ปฏิบัติการใดที่ดำเนินไปภายใต้การให้ยาสลบ เว้นแต่กระทำภายในโรงพยาบาล
6. การให้บริการขณะที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งเสพติดหรือสิ่งมึนเมา
7. การกระทำโดยเจตนา ไม่ซื่อสัตย์ ประสงค์ร้าย กระทำผิดทางอาญา หรือผิดกฎหมายของผู้เอาประกันภัย
8. ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการแผ่รังสีหรือการเปรอะเปื้อน กัมมันตภาพรังสี
9. สงคราม สงครามกลางเมือง การจลาจล การก่อการร้าย
10. การขาย จัดกา หรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หรือการเรียกร้องซึ่งเกิดจากการที่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการตามเจตนาของสินค้า หรือไม่มีคุณสมบัติตามที่ระบุรับรองหรือรับประกัน
11. ความรับผิดชอบของผู้เอาประกันภัยที่เกิดจากสัญญา ข้อตกลงอื่นใด การรับรอง หรือรับประกัน
สรุปประเด็นเกี่ยวกับประกันวิชาชีพสำหรับทันตพทย์
- ประกันวิชาชีพ คล้ายกับประกันรถยนต์ สัญญาปีต่อปี
- ประกันหลายที่ไม่ขายให้กับสาขาความเสี่ยงสูง เช่น แพทย์ผ่าตัด และ ศัลยกรรมความงาม (ทันตกรรม ณ ตอนนี้ยังขายอยู่ โดยยังยกเว้นเรื่องเกี่ยวกับความสวยงามเช่น ตกแต่งเหงือก หรือวีเนียร์) **โดยหากคุณหมอต้องการเพิ่มส่วนนี้ สามารถคุยกับทางประกันเพื่อซื้อเพิ่มได้ เบี้ยประกันอาจจะมีราคาสูงหน่อย
- ประกันมีผลคุ้มครองทุกๆเคส “หลัง” ทำประกัน และหลังจากยกเลิกสัญญาไปอีก 3-6 เดือนขึ้นกับกรมธรรม์
- ประกันไม่คุ้มครองถ้าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือ จงใจกระทำความผิด เช่น คุณหมอตั้งใจทำร้ายร่างกายคนไข้ หรือ ตั้งใจทำความผิด (ก็เหมือนกรณีขับรถ ถ้าเราตั้งใจขับไปชนคน ประกันย่อมไม่คุ้มครอง)
- ระวังอย่าเชื่อสิ่งที่ตัวแทนประกันชี้แจงในทุกๆเรื่อง เพราะรายละเอียดจะเยอะอาจทำให้เขาจำผิดหรือสับสนได้ คุณหมอจึงควรอ่านกรมธรรม์ให้ละเอียดด้วยตนเองเสมอ
- ประกันไม่ได้ช่วยแค่การชดใช้เงินกรณีคุณหมอผิด แต่รวมไปถึงบริการและค่าใช้จ่ายต่างๆเรื่องทนายเพื่อสู้คดี
- ประกันจะช่วยเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยด้วยในกรณีที่คุณหมอไม่ผิด
- ถ้าซื้อประกันแล้ว วันหนึ่งเกิดปัญหากับคนไข้คุณหมอก็ยกหูโทรหาประกันทันที (เหมือนกับรถชน ก็โทรหาประกันทันทีเช่นกัน)
เตรียมฟ้องปลัด ก.สาธารณสุข ทันตแพทย์ลืมหัวกรอฟันในเหงือกถึง 5 ปี
ศูนย์ข่าวขอนแก่น - คนไข้ชาวมุกดาหารเตรียมฟ้องปลัดกระทรวงสาธารณสุข หลังทันตแพทย์ลืมหัวกรอฟันไว้ในเหงือกนานถึง 5 ปี กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ลิ้นรับรสผิดปกติ ทั้งเคยร้องเรียน สคบ.-สำนักงานสาธารณสุข จ.นราธิวาส แต่ไม่ได้รับการเยียวยา
แม้จะได้รับการผ่าเอาหัวกรอฟันออกแล้วอาการดีขึ้นแต่ไม่หายขาด เพราะจากที่มีอาการชาตั้งแต่กกหูขวาถึงริมฝีปาก ตอนนี้ชาเฉพาะริมฝีปาก ลิ้นชาแค่ปลายลิ้น ทั้งลิ้นยังรับรสได้ผิดปกติ ส่วนหูขวาตึง ผลจากการลืมหัวกรอฟันในเหงือกได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของตนมาก ที่ผ่านมาได้ขอรับการเยียวยาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร้องเรียนไปทั้ง สคบ., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส แต่กลับไม่มีหน่วยงานใดเยียวยา กรณีของตนไม่เข้าเกณฑ์ มาตรา 41 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข เพราะตนใช้สิทธิ์สามีที่เป็นข้าราชการในการเบิกค่ารักษา
ทั้งนี้ หลายหน่วยงานได้แนะนำให้ตนฟ้องร้อง จึงเตรียมฟ้องปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อหาหรือฐานความผิด ละเมิด เรียกค่าเสียหาย พ.ร.บ.ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2526 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค 2551 ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 นี้ ซึ่งที่ผ่านมาตนต้องกู้หนี้ยืมสินมาเป็นค่าใช้จ่ายช่วงที่ต้องพักรักษาตัวหาเงินไม่ได้ และเป็นค่าเดินทางไปโรงพยาบาล เป็นเงินกว่า 2 แสนบาท
ซวย !! สาวใหญ่จ่าย 5 แสน ทำฟัน ถูกหมอถอนฟันดี 22 ซี่ จนต้องใส่ฟันปลอม
หญิงชาวรัสเซียยื่นฟ้องร้องทันตแพทย์หญิงในคลินิกเอกชน หลังจากที่เธอถูกถอนฟันดีจำนวน 22 ซี่ออกไป ทำให้เธอต้องใส่ฟันปลอม
นางสาวอิริน่า ชิโซว่า ยื่นฟ้องร้องทันตแพทย์หญิง “คัลมายโคว่า” วัย 40 ปี หลังจากที่เธอต้องจ่ายเงินจำนวน 5 แสน 2 หมื่น 5 พันบาท เพื่อทำฟัน แต่ทันตแพทย์กลับถอนฟันดีของเธอออกจำนวน 22 ซี่ และทำฟันปลอมคุณภาพแย่ใส่ให้เธอแทน ส่งผลให้เธอต้องไปทำฟันปลอมชุดใหม่มาใส่
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าว Hfocus (เอชโฟกัส)
ข้อมูลจากคณะอนุกรรมการจริยธรรม แพทยสภา ได้พิจารณารับเรื่องร้องเรียน และแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่มีการร้องเรียนเข้ามาแพทยสภา ตั้งแต่พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2562 และพ.ศ.2563 (ม.ค.-ต.ค.63) แยกรายละเอียด ดังนี้
พ.ศ.2561 – พบคำร้องมีมูล 61 เรื่อง , คดีไม่มีมูล 103 เรื่อง , คดีขาดอายุความ 5 เรื่อง และส่งคืน 13 เรื่องรวมทั้งหมด 182 เรื่อง
พ.ศ.2562 – พบคำร้องมีมูล 121 เรื่อง, คดีไม่มีมูล 235 เรื่อง, ขาดอายุความ 4 เรื่อง และส่งคืน 16 เรื่อง รวมทั้งหมด 359 เรื่อง
พ.ศ.2563 (ม.ค.-ต.ค.) - พบคำร้องมีมูล 126 เรื่อง, คำร้องไม่มีมูล 172 เรื่อง , ขาดอายุความ 8 เรื่อง และส่งคืน 10 เรื่อง รวมทั้งหมด 316 เรื่อง