เมื่อพูดถึงการวางแผนภาษีหลายคนอาจคิดว่าไม่ว่าจะทำวิธีไหนก็ไม่ช่วยให้ประหยัดภาษีขึ้นมาได้หรือบางทีอาจจะคิดว่ากำลังไปต่อภาษีก็เท่ากับการทำผิดกฎหมายแต่ความเป็นจริงแล้วคำว่าการวางแผนภาษีคือการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนในฐานะพลเมืองดีและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้
ในขณะที่การโกงภาษีหรือการหนีภาษีคือการไม่ยอมเสียภาษีหรือความพยายามที่จะเสียภาษีให้น้อยลงโดยฝ่าฝืนกฎหมายภาษีอากรเช่นจงใจไม่นำรายได้มายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษียื่นรายการไม่ครบหรือแสดงรายการค่าใช้จ่ายสูงกว่าความเป็นจริง
ดังนั้นการวางแผนภาษีที่ดีจึงควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้ที่เราจะต้องเสียและรู้จักใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่าโดยหลักในการวางแผนภาษีคือ รู้ประเภทของรายได้รู้ค่าใช้จ่ายที่หักภาษีได้รู้ค่าลดหย่อนเพื่อลดภาษีรวมถึงรู้วิธีการคำนวณภาษีและรู้ช่องทางการยื่นภาษี
3 เรื่องภาษีที่ต้องรู้
การวางแผนภาษีส่วนบุคคลไม่ใช่เรื่องยุ่งยากหรือซับซ้อนอะไรเมื่อวางระบบเริ่มต้นได้แล้วปีต่อๆมาเพียงทบทวนบ้างเพื่อไม่ให้เสียโอกาสดีๆในการประหยัดเงินสดเท่านั้น ซึ่งเรื่องต้องรู้เพื่อให้การวางแผนภาษีเกิดประโยชน์สูงสุดมีดังนี้
1 รู้และเข้าใจกฎข้อบังคับแนวปฏิบัติทางภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการเสียภาษีไม่ถูกต้อง
2 รู้จักการได้เก็บข้อมูลอาชีพหรือธุรกิจของตนเองทำการเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลรายได้ เอกสารการหักภาษีณที่จ่าย เอกสารการลงทุน กรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นต้น การทำสรุปข้อมูลเหล่านี้ทุกเดือนจะช่วยให้เรารู้ล่วงหน้าว่าเราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมหรือประหยัดภาษีได้ประมาณเท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนภาษี
3 รู้จักใช้ประโยชน์จากมาตรการที่จะช่วยลดภาษีเช่น การทำประกันชีวิต การลงทุนระยะยาว การซื้อกองสลากออมสินบางประเภท
รายได้แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากันซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1. รายได้จากการแจ้งงาน หักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
2. รายได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้ หักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
3. รายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาเฉพาะค่าลิขสิทธิ์ค่าใช้จ่ายได้ 10% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
4. รายได้เป็นดอกผลหรือผลตอบแทน หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
5. รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควรหรือหักเหมาตามประเภทของทรัพย์สินที่ให้เช่า เช่น
- บ้านโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหักค่าใช้จ่ายได้ 30%
- ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรหักค่าใช้จ่ายได้ 20%
- ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรมหักค่าใช้จ่ายได้ 15%
- ยานพาหนะหักค่าใช้จ่ายได้ 30%
6. รายได้จากอาชีพอิสระ 6 อาชีพ หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควรหรือหักเหมาดังนี้
- แพทย์หักค่าใช้จ่ายได้ 60%
- ทนายความวิศวกรสถาปนิกผู้ตรวจสอบบัญชีและจิตรกรหักค่าใช้จ่ายได้ 30%
7. รายได้จากการรับเหมาพร้อมอุปกรณ์และสัมภาระ หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควรหรือหักเหมา 70%
8. รายได้จากการประกอบธุรกิจ จะได้ประเภทนี้จะหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควรหรือรับเหมา ซึ่งแต่ละหมวดอัตราค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน เช่น
- คนที่ส่งรับจ้างหรือยานพาหนะหักค่าใช้จ่ายได้ 80%
- การแสดงของนักแสดง นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ นักแสดงเพื่อความบันเทิงในๆส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ส่วนที่เกิน 300,000 บาทหักค่าใช้ จ่ายได้ 40% แต่รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
ขั้นตอนการยื่นภาษีแบบออนไลน์ สะดวก ไม่ยุ่งยาก : วิธียื่นภาษี
ขั้นตอนที่ 1 กรอกข้อมูลผู้เสียภาษีเงินได้
ขั้นตอนที่ 2 กรอกข้อมูลเงินได้
ขั้นตอนที่ 3 กรอกค่าลดหย่อน
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 ยืนยันข้อมูล
การยื่นภาษีในปี 2565 เป็นการใช้ข้อมูลเงินได้ของปีก่อน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2564 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ ชื่อ สกุล ของผู้ยื่นภาษี และคู่สมรส
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่ทำงานอยู่ หรือนายจ้างที่จ่ายค่าจ้างอื่นๆ
ยอดเงินที่เป็นรายได้
ยอดที่จ่ายให้กับกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, SSF, RMF, LTF, กองทุนประกันสังคม, กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นต้น
หนังสือรับรองการหักเสียภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
เลขบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส, บุตร, บิดามารดา ที่นำมากรอกยื่นเพื่อลดหย่อนภาษี
หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของผู้ยื่นภาษี และประกันสุขภาพของบิดาหรือมารดาที่นำมายื่นลดหย่อนภาษี
ข้อมูลการยื่นลดหย่อนภาษีอื่นๆ เช่น ใบเสร็จหรือหนังสือรับรองการบริจาคให้แก่สถานพยาบาล หรือ มูลนิธิที่กำหนด