วางแผนมรดก Estate Planning

“การวางแผนมรดก” หลายคนคงมองเป็นเรื่องไกลตัวไม่เคยคิดที่จะวางแผนมรดกเลย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของคนรวย คิดว่าตัวเองมีทรัพย์สินไม่มากนักจะทำไปทำไมให้เสียเวลา หรือไม่ก็คิดว่าเป็นการแช่งตัวเอง ความคิดเหล่านี้ถือเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง อาจลองปรับทัศนคติใหม่.... เพราะไม่ใช่แค่คนรวยที่มีทรัพย์สมบัติเงินทองมากๆ จึงต้องวางแผน
หากใครยังมึนๆ งงๆ ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี ผมอยากให้ลองตั้งสติและเริ่มวางแผนกัน

ซึ่งการวางแผนมรดกจำต้องมีสิ่งที่รู้ 5 ประการ ดังนี้5 รู้ เพื่อการวางแผนมรดก


1. รู้สินทรัพย์และหนี้สินที่มี

2. รู้จักภาษีการให้และภาษีมรดก

3. รู้กฎหมายมรดก

4. รู้วางแผนการส่งมอบมรดก

5. รู้ส่งต่อมรดกแบบได้ประโยชน์ทางภาษี

“ภาษีมรดก” แล้วนะครับซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2559 นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของสังคมไทยยุคใหม่ที่มีภาษีแบบนี้ (จริงๆ เคยมีมาแล้วตอนปี พ.ศ 2476 แต่เนื่องจากจัดเก็บไม่ได้เลยยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2487) ซึ่งภาษีมรดกนี้เป็นเรื่องไม่ไกลตัวของผู้ที่ประกอบธุรกิจครอบครัวเลย ดังนั้นเรามารู้จักกันหน่อยดีกว่าครับ

image
ปัญหาของการแบ่งสมบัตินั้นมีอยู่ ๒ ส่วน ส่วนแรกคือ ผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการแบ่งสรรนั้น เป็นผู้รับมรดกด้วย (Principal-Agent Problem) ส่วนที่สองคือ สมบัติอาจถูกตีมูลค่าไม่เท่ากันในความรู้สึกของแต่ละคนที่ได้รับ เช่น มีที่ดินอยู่ 5 ไร่ แบ่งให้พี่น้อง 5 คน จะได้คนละ 1 ไร่ ซึ่งดูเหมือนว่าจะได้เท่ากัน แต่ที่จริงแล้ว มันขึ้นอยู่กับว่า ใครได้ด้านหน้า/ด้านหลัง หน้ากว้าง/หน้าแคบ ติดถนน/ด้านใน อยู่กลางแปลง/ด้านข้าง เป็นต้น [หากสมบัติเป็นเงิน อาจจะไม่มีปัญหานี้ เพราะแบ่งได้เท่าเทียมกว่า แต่หากมีสมบัติแล้วแปลงเป็นเงิน ความขัดแย้งก็ยังอาจจะเกิดขึ้นอยู่ดี เพราะ อาจต้องถกเถียงกันในเรื่องราคาขายที่เหมาะสม]

อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้แนวทางการแบ่งมรดกนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไข ๒ ประการ หนึ่งคือการฮั้วกันของพี่น้องบางคนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ สองคือแนวทางนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อเป็นการแบ่งสมบัติแบบเท่ากันทุกคน
เปิดปม! ที่ดินมรดกเลือด
ชนวนกราดยิงกลางศาล
มรดกเลือด! ยิงเศรษฐีพี่น้องเซ่น 2ศพ วงจรปิดมัด “นาย ป.” บุกฆ่าปมสวนทุเรียนพันไร่
มรดกตระกูลธรรมวัฒนะ : ความจริงไม่ตาย 

ตัวอย่างแนวคิดของการวางแผน

image
แบ่งมรดกอย่างไร จะไม่เกิดปัญหากันนะ? การแบ่งมรดกเพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งชิงต้องแบ่งก่อนจาก เพราะคนที่มีทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ดิน หุ้นส่วน อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เงินสด ของมีค่าต่างๆ นั้น ควรจะมีการปรึกษากันเรื่องการแบ่งสัดส่วนทรัพย์สิน ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ และควรเป็นการจัดแบ่งมรดกที่เป็นธรรมต่อผู้สืบสันดานทุกคนด้วย ซึ่งการตกลงต้องจัดเป็นการประชุม และมีการบันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งอาจจัดให้มีการประชุมร่วมกันเป็นระยะ เช่น เป็นรายเดือน เพื่อแถลงรายได้ ผลกำไร รายจ่าย ที่สำคัญต้องมีการตกลงเรื่องรายได้ ซึ่งจะต้องแบ่งให้บุตรที่เป็นผู้ดูแลกิจการเท่านั้น

ข้อดีของการจัดแบ่งทรัพย์สินตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ คือ ทำให้เกิดความชัดเจน และบุตรที่ได้รับก็ยังมีความสามารถทำมาหากินให้สร้างรายได้ต่อยอดไปอีกด้วย เพราะในบางกรณีที่พ่อแม่อายุยืน บุตรก็อาจจะอายุมาก ทำให้เสียโอกาส พ่อแม่ส่วนใหญ่จะมีวิธีจัดการ เช่น แบ่งให้ลูกทุกคนในสัดส่วนเท่าๆ กัน โดยมีข้อแม้ว่าให้ทำกิจการจากเงินที่ได้รับ เหมือนเป็นการให้เงินไปลงทุน ทำให้กิจการเจริญก้าวหน้าตั้งแต่ยังมีโอกาส

ข้อเสียของการให้ทรัพย์สินก่อนตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ก็มี เช่น กรณีตัวอย่างที่บุตรไม่สามารถรักษาไว้ได้ นำทรัพย์สิน เช่น บ้านหรือที่ดินไปขาย ทำให้ไม่มีที่อยู่ ต้องกลับมาให้พ่อแม่ดูแล สำหรับมรดกประเภทอสังหาริมทรัพย์ ปัญหานี้สามารถป้องกันได้ โดยพ่อแม่สามารถให้บุตรไปจดสิทธิเก็บกินแก่พ่อแม่ที่สำนักงานที่ดินซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ เช่น เรามีบ้าน และเราอยากให้ลูกก่อน เพื่อให้ลูกนำไปลงทุน เราก็สามารถให้ลูกไปจดสิทธิเก็บกินให้ตนเองได้ เป็นระยะเวลา เช่น 30 ปีหรือตลอดชีวิตของพ่อแม่ ลูกจะนำไปขาย หรือจำหน่ายจ่ายโอนไม่ได้ หากจะนำไปจำนองก็ต้องได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ก่อนเท่านั้น
หลากหลายเหตุการณ์ หลากหลายข่าวที่เราเคยได้ยินเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทเพื่อแย่งชิงมรดกกัน บางครั้งสาเหตุที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท อาจไม่ได้เกิดจากความโลภของคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมต่างหาก และเมื่อบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตอย่างนี้ต้องจัดการมรดกกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา เรามีคำแนะนำมาให้เป็นแนวคิดเพื่อใช้ในการวางแผน
image
การวางแผนของคนเอเชีย ยังวางแผนจากทรัพย์สินที่มีมูลค่าเดิม ไม่ได้สร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
image
การวางแผนเพิ่มมูลค่าหรือคงมูลค่า ไปทุกรุ่นทำให้ลูกหลานในทุกๆ รุ่นสามารถใช้จ่ายหรือมีทรัพย์สินอยากเต็มที่
image
รู้ถึงสินทรัพย์ และหนี้สินที่มีว่ามูลค่าเท่าไหร่ มีอะไรบ้าง และจัดสรรให้เรียบร้อย เพื่อส่งต่อให้แก่คนรุ่นหลัง พร้อมทำบัญชีบันทึกอย่างครบถ้วน ก็จะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งสินทรัพย์ และหนี้สิน มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ดังนั้น
 สินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น เงินสด, เงินฝากธนาคาร
 สินทรัพย์ เพื่อการลงทุน เช่น หุ้น หุ้นกู้ กองทุน, อสังหาฯ, สินทรัพย์ให้เช่า
 สินทรัพย์ส่วนตัว เช่น บ้าน, รถยนต์, เครื่องประดับ
 หนี้สินหมุนเวียน (หนี้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี) เช่น หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด, หนี้นอกระบบ
 หนี้สินระยะยาว (หนี้อายุเกิน 1 ปี) เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้ธุรกิจ
______________________
 ศึกษาในเรื่องของกฎหมาย ภาษีมรดก และภาษีจากการให้
 การรับมรดก คือ การรับทรัพย์สินจากผู้ตาย ไม่มีการโอนให้ก่อนเสียชีวิต
ทายาท ถ้าได้รับทรัพย์สิน จะต้องเสียภาษีมรดก เฉพาะส่วนเกิน 100 ล้านบาท ในอัตรา 5% แต่ถ้าผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา เช่น ผู้รับตามพินัยกรรม จะอยู่ในอัตรา 10% โดยอสังหาฯ จะคำนวณจากราคาประเมิน และหลักทรัพย์จะคำนวณจากราคาปิดตลาด ณ วันที่โอน
 การรับให้ คือ การที่เจ้าของมรดกได้โอนทรัพย์สิน ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ให้แก่ทายาท
สังหาฯ ถ้าบุคคลธรรมดาได้รับ ส่วนเกิน 10 ล้านบาท จะเสียภาษี 5% แต่ถ้ามอบให้ทายาท ส่วนเกิน 20 ล้านบาท จะเสียภาษี 5%
อสังหาริมทรัพย์ มอบให้เฉพาะบุตรตามกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม จะเสียภาษี 5% ของส่วนเกิน มูลค่า 20 ล้านบาท
โดยทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดก มี อสังหาริมทรัพย์, หลักทรัพย์ตามกฎหมาย, เงินฝาก, ยานพาหนะ และทรัพย์สินทางการเงิน


 รู้ในเรื่องของกฎหมายมรดก ซึ่งหลักเกณฑ์ในการรับมรดก คือ ผู้ตายจะต้องแบ่งสินสมรสให้แก่คู่สมรสตามกฎหมายก่อน 50% จากนั้น จึงแบ่งมรดกให้แก่ผู้รับได้ โดยการแบ่งมรดกจะมีผู้รับหลักๆ อยู่ด้วยกัน 2 ฝั่ง 1. ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม (เป็นทายาทหรือไม่ก็ได้)
ทายาทโดยธรรม คือ ทายาททางสายเลือด จะมีลำดับด้วยกัน 6 ลำดับ ดังนี้
1. ผู้สืบสันดาน บุตรตามกฎหมาย นอกกฎหมายที่รับรอง บุตรบุญธรรม หลาน เหลน ลื้อ และอื่นๆ
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดา
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
ผู้รับพินัยกรรม จะมีสิทธิโดยชอบธรรม ที่มากกว่าทายาทโดยธรรม แต่ถ้าในพินัยกรรมบอกว่า ต้องการยกทรัพย์สินให้ผี้รับพินัยกรรมทั้งหมด ทายาทโดยธรรม จะไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดก

 การส่งต่อมรดกเป็นทรัพย์สินที่ได้รับประโยชน์ทางภาษี
สำหรับหลายๆ ครอบครัว ที่มีทรัพย์สินจำนวนมาก หรือมองในระยะยาวทางด้านผลตอบแทน และความคุ้มค่า ก็มักจะทำประกันชีวิต เพื่อรับสินไหม ผลประโยชน์มรณกรรม โดยในกรมธรรม์ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ ที่ต้องการมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายไว้ให้
.
เวลา มักผ่านไปเร็วเสมอ ดังนั้น รีบวางแพลน ตัดสินใจ เพื่อผลประโยชน์ต่อตัวคุณเอง และครอบครัว เพื่อเป็นการวางแพลนในการดำรงชีวิตของผู้ที่อยู่ต่อข้างหลัง จะได้ไม่มาเดือดร้อนกับปัญหา หรือสิ่งที่เคลียไม่จบที่เกิดขึ้นจากตัวเรากันนะคะ เพราะ อนาคตคือสิ่งที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ แต่เราเตรียมความพร้อมรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้

 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้