การวางแผนเกษียณ

       ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการแพทย์และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรโลกพัฒนาสูงขึ้นส่งผลให้ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้นถ้าหากสมมุติว่าอายุกลับมาอยู่ที่ 80 ปีก็หมายความว่าเราอาจจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณได้อีก 20-25 ปีเนื่องจากคนทั่วไปที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรับราชการมักจะเกษียณอายุเมื่อมีอายุอยู่ประมาณ 55-60 ปีและเมื่อเกษียณอายุรายได้ที่เคยรับในช่วงเกษียณอายุก็จะต้องสูญเสียไปด้วยดังนั้นจะทำอย่างไรให้รักษาระดับคุณภาพชีวิตเมื่อต้องสูญเสียได้ช่วงหลังเกษียณให้เท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับก่อนช่วงเกษียณซึ่งแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยได้และเป็นอย่างดีก็คือการเตรียมความพร้อมและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณที่ดีในช่วงก่อนเกษียณนั่นเอง

 

ความหมายของการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

การเกษียณอายุหมายถึงการที่บุคคลถอนตัวออกจากงานประจำที่ทำอยู่เมื่อมีอายุครบในระหว่าง 55-60 ปีโดยช่วงอายุที่เกษียณนั้นขึ้นอยู่กับอาชีพและระเบียบข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานสำหรับผู้ที่รับราชการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนเพื่อรับบำเหน็จและบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในส่วนของหน่วยงานเอกชนอาจกำหนดให้พนักงานลาออกจากงานเมื่อครบอายุ 55 หรือ 60 ปีหรือบางแห่งยังยอมรับบุคคลที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีทำงานต่อไปได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของบุคคลนั้นๆ 

ความสำคัญของการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ 

การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรโลก
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรโลกมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมประชากรวัยแรงงานไปสู่ประชากรวัยชรามากขึ้นซึ่งหากพิจารณาจากข้อมูลสหประชาชาติพบว่าอัตราของประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปในปี 2543 ประมาณ 600 9 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 9.9 ของจำนวนประชากรโลก มีการเพิ่มขึ้นเป็น 673 ล้านคนในปี 2548 เพิ่มขึ้นประมาณ 64 ล้านคนภายในระยะเวลา 5 ปี ได้มีการคาดการณ์ไปในปี 2568 ประชากรโลกที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1201 ล้านคนหรือเพิ่มขึ้นเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ในปี 2568  และในปี 2588 จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์


ประชากรโลกมีอายุยืนยาวขึ้น

จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาสูงขึ้นส่งผลให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นถึงแม้ว่าการมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นจะเป็นสิ่งที่ดีสิ่งหนึ่งหากมีการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินเนื่องจากการมีอายุยืนยืนยาวมากขึ้นเจ้าหมายถึงการใช้ชีวิตในช่วงเกษียณที่ยาวนานขึ้นและหมายความว่าจะต้องมีการใช้จ่ายในช่วงเกษียณที่เพิ่มมากินขึ้น ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องสะสมเงินออมในช่วงเกษียณอายุในจำนวนที่มากขึ้นตามไปด้วย

การเกษียณอายุก่อนกำหนด


การเกษียณอายุก่อนกำหนดอาจจะมีสาเหตุจากการเกษียณอายุด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับให้เกษียณก่อนกำหนดซึ่งหากเป็นการเกษียณก่อนกำหนดด้วยความสมัครใจก็จะทำให้ผู้เกษียณนั้นมีความสุขถ้าหากมีแหล่งเงินออมหรือเพื่อเกษียณอายุที่เพียงพอในการดำรงชีวิตแต่หากเป็นการเกษียณก่อนกำหนดด้วยสาเหตุที่ถูกบังคับให้เกษียณก่อนนั้นอาจจะมีเฟสผลที่หลากหลายก็จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงหลังเกษียณได้ดังนั้นด้วยเหตุนี้จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมและมีการวางแผนที่จะเกษียณไว้ทุกสถานการณ์

ความไม่เพียงพอของเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเกษียณอายุของรัฐบาล


ถึงแม้ว่าภาครัฐจะมีโครงการสนับสนุนให้ประชาชนสะสมเงินเพื่อเป็นหลักประกันทดแทนการขาดรายได้เมื่อเกษียณอายุทั้งในรูปแบบของประกันสังคมการสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพิ่งจะสามารถนำไปใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการดำรงชีวิตในช่วงในช่วงหลังเกษียณอายุก็ตามแต่บางครั้งจำนวนเงินดังกล่าวอาจไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินชีวิตในช่วงหลังเกษียณเช่นถ้าหากมีการสะสมในจำนวนเงินที่น้อยเกินไปนอกจากนี้ในระยะเวลายาวหากมีจำนวนผู้สูงอายุสูงขึ้นทำให้ผู้มาขอรับสิทธิ์บำเหน็จบำนาญจากประกันสังคมของภาครัฐมากขึ้นโอกาสที่กองทุนประกันสังคมอาจจะไม่สามารถรองรับกับความต้องการของประชาชนที่มีความเป็นไปได้สูงกอปรกับเงินช่วยเหลือของภาครัฐนั้นมีจำนวนน้อยซึ่งไม่เพียงพอสำหรับใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพได้

วัตถุประสงค์ของการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

การมีรายได้ที่เพียงพอเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่มีการวางแผนเพื่อวัยเกษียณจึงเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างมั่นคงมีความสุขไม่ต้องประสบกับภาวะความเสี่ยงต่างๆดังนั้นการวางแผนเพื่อวัยเกษียณจึงมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ดังนี้

เพื่อรักษามาตรฐานความเป็นอยู่ของชีวิตในช่วงหลังเกษียณให้เหมือนกับช่วงก่อนเกษียณ
เพื่อวางแผนด้านการเงินและการประมาณการล่วงหน้าที่ดีเพื่อให้ทราบว่าหลังเกษียณไวมีรายได้สำหรับใช้จ่ายอย่างเพียงพอหรือมากน้อยเพียงใด
การมีรายได้ที่เพียงพอเพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณจำเป็นต้องมีการลดหย่อนหรือควบคุมค่าใช้จ่ายตั้งแต่เนิ่นๆในระหว่างการทำงานมีรายได้เปล่าคือต้องมีการวางแผนโดยตรวจสอบสถานภาพทางการเงินในปัจจุบันและงบประมาณการจ่ายทั้งหมดหลังวัยเกษียณ
การวางแผนด้านการเงินอาทิการมีวินัยในการใช้เงินการออม รวมทั้งการรู้จักเลือกลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมจะทำให้การดำเนินชีวิตในวัยเกษียณเป็นไปอย่างมีคุณภาพไม่เป็นภาระของลูกหลาน
การมีรายได้ในวัยเกษียณที่เพียงพอในการดำเนินชีวิตจะส่งผลให้ผู้สูงอายุอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่านอกจากการมีรายได้เพียงพอในการเลี้ยงดูตัวเองแล้วยังสามารถปันรายได้ที่เหลือบางส่วนเพื่อดูแลบุคคลที่อยู่ในอุปการะอย่างต่อเนื่องได้
 

สิ่งที่ต้องเผชิญเมื่ออยู่ในช่วงชีวิตหลังวัยเกษียณ

      ผู้เกษียณอายุจากการทำงานเป็นผู้ที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงหลายๆด้านซึ่งสิ่งที่ต้องเผชิญเมื่ออยู่ในช่วงชีวิตหลังวัยเกษียณสามารถสรุปได้ดังนี้

ปัญหาด้านรายได้ที่ลดลงนับว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อผู้ใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณเนื่องจากข้อจำกัดของการประกอบอาชีพอันมีสาเหตุมาจากสูงอายุทำให้รายได้ลดลงหรือเนื่องจากโอกาสของการหาได้ที่ลดลงเมื่อเทียบกับอยู่ในวัยทำงาน
ปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหรือทางสรีระทำให้คุณภาพของอวัยวะต่างๆในร่างกายที่เคยใช้งานได้อย่างดีหย่อนสภาพรถลงทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมาปัญหาด้านสุขภาพไม่แข็งแรงเช่นเมื่อก่อน ปัญหาเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคต่างๆเป็นปัญหาที่สำคัญเป็นอันดับแรกของผู้อยู่ในวัยหลังเกษียณอายุ
ปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการสูญเสียรายได้ต่างๆที่เคยมีในอดีตหรือรายได้ที่ลดลงแต่ในขณะเดียวกันผู้อยู่ในวัยเกษียณอายุยังคงต้องมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพซึ่งสูงมากขึ้นและบางรายยังคงมีหนี้สินที่ผูกพันตลอดจนภาระการดูแลของผู้อยู่ในอุปการะที่ยังต้องช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ทำให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นและส่งผลต่อผู้สูงอายุในภาวะยากลำบากทางเศรษฐกิจ
 
ระบบการจัดสวัสดิการเพื่อชราภาพ

          จากสภาพที่ปัจจุบันประชากรโลกเข้าสู่วัยสูงอายุมากขึ้นดังนั้นการบริหารการเงินของการให้ความคุ้มครองทางด้านรายได้แก่ผู้อยู่ในวัยเกษียณจึงเป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆให้ความสำคัญเป็นอย่างมากขณะที่ประเทศต่างๆในโลกมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบบำนาญเพื่อลดหรือแก้ไขความผิดพลาดทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายบำนาญสำหรับผู้สูงอายุซึ่งสูงมากจนส่งผลกระทบต่อการออมและระบบเศรษฐกิจของประเทศดังนั้นระบบการจัดการสวัสดิการเพื่อชราภาพจึงเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเงินในระยะสั้นและระยะยาวหรือกล่าวได้ว่ามีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบรรเทาความยากจนและการยังชีพอย่างไม่ขัดสนในวัยเกษียณ

          สำหรับการให้ความคุ้มครองไม่ให้ประชาชนประสบความเดือดร้อนเมื่อสูงอายุหรือเมื่ออยู่ในวัยเกษียณในประเทศต่างๆปัจจุบันปัจจุบันมี 4 รูปแบบคือ

1.  รูปแบบที่ให้ประโยชน์กับผู้สูงอายุทุกคน Universal benefit schemes เป็นการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบของบำนาญแก่ประชาชนทุกคนที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์ชราภาพตามที่กำหนดโดยไม่คำนึงถึงฐานะความเป็นอยู่รายได้หรือสถานภาพการทำงานของผู้รับประโยชน์

2. รูปแบบที่ให้ประโยชน์เฉพาะผู้สูงอายุที่เดือดร้อน Universal social assistance schemes เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือหลังจากที่ได้มีการตรวจสอบรายได้ของผู้รับประโยชน์ทดแทนแล้ว

3. รูปแบบการประกันสังคม social insurance schemes เป็นการให้ประโยชน์แก่สมาชิกในวัยเกษียณในรูปแบบของบำนาญโดยมีการพิจารณาประวัติการทำงานหรือการให้เงินสมทบของสมาชิก

4. รูปแบบกองทุนเงินสะสม Provident Funds เป็นการให้ประโยชน์ในรูปแบบของการจ่ายเงินก่อนให้แก่ผู้ที่ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนและมีอายุถึงเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ เงินก้อนจะประกอบด้วยเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุน รวมถึง ดอกผลที่ได้รับจากการลงทุน และในบางครั้งเงินก้อนอาจจะถูกเปลี่ยนสภาพให้อยู่ในรูปของบำนาญได้แต่โดยปกติเงินก้อนจะจ่ายให้ในคราวเดียวเท่านั้น

     ดังนั้นการวางแผนให้ความคุ้มครองด้านรายได้สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้เกษียณอายุในรูปแบบต่างๆของแต่ละประเทศจะมีการใช้รูปแบบของการให้ความคุ้มครองผู้สูงอายุที่แตกต่างกันไม่มีประเทศใดที่ใช้เพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแต่จะผนวกหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นการให้ความคุ้มครองแบบหลายชั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้