ตัวแทน/นายหน้าประกันภัย
เมื่อพูดถึงตัวแทนและนายหน้าประกันภัย คนทั่วไปส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนๆ เดียวกัน ซึ่งในความจริงแล้วตัวแทนและนายหน้าประกันภัยไม่ใช่คนๆ เดียวกัน แม้ว่าการทำงานและหน้าที่อาจจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง ส่วนที่คล้ายคลึงกันของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยก็คือ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยง หรือเป็นตัวกลางในการประสานงานให้เกิดการทำประกันขึ้นระหว่างผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันภัย
ความแตกต่างระหว่างตัวแทนและนายหน้าประกันภัย
ตัวแทนประกันภัย จะเป็นผู้ที่มีสังกัดอยู่ในบริษัทประกันภัยต่างๆ และทำหน้าที่เสนอขายประกันของบริษัทตนเอง ให้กับประชาชนที่สนใจ ขณะที่นายหน้าประกันภัย จะไม่ใช่ผู้ที่มาจากบริษัทประกันภัยโดยตรง ไม่มีสังกัดในการทำงาน แต่เป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือชี้ช่องการทำประกันภัยกับบริษัทต่างๆ หรือทำหน้าที่แทนผู้เอาประกันภัยจนเสร็จสิ้นกระบวนการ สิ่งสำคัญก็คือ กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นตัวแทนหรือนายหน้าได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าเลือกเป็นตัวแทนก็สามารถเป็นได้ทั้งตัวแทนประกันชีวิตและตัวแทนประกันวินาศภัย และในทำนองเดียวกัน ถ้าเลือกเป็นนายหน้าก็สามารถเป็นได้ทั้งนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย
สรุปคำจำกัดความระหว่างตัวแทน และนายหน้าประกันภัย ดังนี้
1. ตัวแทนประกันภัย (Insurance Agents) ตัวแทนประกันภัยจะเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ทำหน้าที่แทนบริษัทประกันที่สังกัดอยู่ในการชักชวนและนำเสนอขายสินค้า (กรมธรรม์) หรืออาจจะเรียกว่าเป็นพนักงานของบริษัทประกันก็ได้ เพราะตัวแทนประกันนั้นจะมีสังกัดที่แน่นอนว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันใด อาจเป็นได้มากกว่าหนึ่งบริษัทได้ หากได้รับความยินยอมจากบริษัทแรก
2. นายหน้าประกันภัย (Insurance Brokers) นายหน้าประกันภัย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโบรกเกอร์ คือ คนกลางอิสระ เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทำหน้าที่แทนประชาชนที่ต้องการซื้อประกันภัย ในการคัดเลือกบริษัทประกันที่มีสินค้า (กรมธรรม์) ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยนายหน้าประกันภัยนั้นสามารถที่จะชี้ช่องแนะนำประกันของบริษัทใดก็ได้ และสามารถขายได้อย่างอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับบริษัทประกันแห่งใด สำหรับค่าตอบแทนที่ได้รับ จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากบริษัทประกันภัย ตามจำนวนที่นายทะเบียนประกาศกำหนดไว้ในแต่ละประเภทของการประกันภัยซึ่งไม่เท่ากัน
ประกัน โดยยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ที่สำนักงาน คปภ. จากนั้นจึงติดต่อไปยังบริษัทประกันที่สนใจ เพื่อขอเป็นนายหน้าขายประกัน ซึ่งสามารถติดต่อบริษัทประกันได้หลายๆ แห่ง เพื่อจะได้มีสินค้าในมือหลากหลายให้ลูกค้าได้ตัดสินใจเลือกซื้อ
แต่หากสนใจเป็นตัวแทนขายประกันมากกว่า อันดับแรกคือต้องเลือกบริษัทประกันที่สนใจจะเป็นตัวแทนขายก่อน จากนั้นเข้ารับการอบรมและสอบให้ได้ใบอนุญาตจากสำนักงาน คปภ. หากสอบผ่านแล้วต้องติดต่อบริษัทประกันที่สมัครเป็นตัวแทนไว้ เพื่อให้บริษัทยื่นขอรับใบอนุญาตให้ เนื่องจากในการขอรับใบอนุญาตจะต้องมีหนังสือแสดงความต้องการของบริษัทรับเป็นตัวแทนด้วย
การเตรียมตัว สามารถทำได้อย่างไร
ในส่วนของการสอบ ท่านจะต้องเลือกสอบเป็นนายหน้าประกันภัย และต้องเลือกอีกว่าจะเป็น
• นายหน้าประกันวินาศภัย
• นายหน้าประกันชีวิต
ซึ่งทั้ง 2 อาชีพ จะมีใบอนุญาตที่แตกต่างกัน โดยถ้าอยากขายทั้ง 2 รูปแบบก็ต้องทำใบอนุญาตทั้ง 2 ใบ ในการสอบ จะได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน คปภ. เมื่อสอบผ่าน สิ่งที่ต้องทำต่อ คือ
1. ติดต่อขอขึ้นทะเบียนเป็นนายหน้าประกัน โดยยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ที่สำนักงาน คปภ.
2. ติดต่อไปที่บริษัทประกันที่สนใจ เพื่อขอเป็นนายหน้าขายประกัน สามารถติดต่อได้หลายบริษัท เพื่อจะได้มีสินค้าให้ลูกค้าได้ตัดสินใจเลือกซื้ออย่างหลากหลาย
เป็นนายหน้าประกันภัยดียังไง
นายหน้าประกันภัย มีอิสระในการทำงาน ซึ่งสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ของบริษัทใดก็ได้ โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก และมีรายได้ที่สามารถสร้างได้ตามความสามารถที่มีของตัวเอง ในเวลาที่ยืดหยุ่นบริหารจัดการง่ายกว่าการ ทำงานประจำ
รายได้ของนายหน้าประกันภัย
เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่รายได้ดีค่อนข้างดีขิ้นอยู่กับความสามารถในการหาช่องทางการขายรวมถึงบริษัทที่ท่านขายผลิตภัณฑ์ด้วย นายหน้าประกันภัย มีรายได้เฉลี่ยตั้งแต่หลายหมื่นไปจนถึงหลายแสนบาทต่อเดือนเลยทีเดียวเป็นไงกันบ้างครับกับ อาชีพนายหน้าประกันภัย น่าสนใจใช่ไหมครับท่านใดสนใจอาชีพนี้ไม่จำกัดวุฒิสามารถทำเป็นได้ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม
เป็นอีกตัวช่วยในการสร้างรายได้ที่ดีทีเดียวครับ
ใบสมัครนายหน้าประกันวินาศภัย
ขั้นตอนที่ 1
กรณี ไม่เคยสมัครสอบ - ลงทะเบียนสมัครสอบใหม่
กรณี เคยสมัครสอบ - กรอกหมายเลขบัตรประชาชน ชื่อ นามสกุล กดปุ่มสมัครสอบ
ขั้นตอนที่ 2
กรอกข้อมูลใบสมัครในช่องที่กำหนดให้ครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว กดปุ่มดำเนินการต่อไป
ขั้นตอนที่ 3
เลือกสนามสอบ/เลือกวันที่สอบ จะปรากฎข้อมูล วัน/เวลาที่เปิดสอบ กดปุ่มสมัครสอบและยืนยันการสมัคร พร้อมสั่งพิมพ์ใบแจ้งการชำระเงินค่าธรรมเนียมการสอบ
ขั้นตอนที่ 4
เมื่อชำระเงินค่าธรรมเนียมการสอบแล้ว โปรดตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิสอบในวันถัดไป
ข้อควรระวัง
1. ผู้สมัครสอบ สมัครได้เพียงครั้งเดียวต่อการสมัครสอบในแต่ละรอบ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง วัน/เวลา/สถานที่สอบได้ เนื่องจากจำกัดจำนวนที่นั่งสอบ
2. ข้อมูลที่กรอกในใบสมัครออนไลน์จะต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงทุกประการ
3. การกรอกข้อมูลในใบสมัคร ท่านจะต้องตรวจทานให้ถูกต้องและสมบูรณ์ก่อนที่จะส่งใบสมัคร ออนไลน์เพราะท่านไม่สามารถกลับมาแก้ไขข้อมูลได้อีก
4. ชื่อ-นามสกุล ที่ใช้ในใบสมัครจะต้องเป็นชื่อ-นามสกุลที่ตรงกับบัตรประชาชน
5. กรุณาตรวจสอบเลขประจำตัวประชาชนให้ถูกต้อง เพราะเลขประจำตัวประชาชนของท่านจะใช้ เป็นเลขอ้างอิงตลอดการสอบ และการขอรับใบอนุญาต
6. ผู้ที่ทำการสมัครสอบ แล้วไม่ชำระเงินค่าธรรมเนียมการสอบตามที่สมัครไว้ ติดต่อกัน 7 ครั้ง จะถูกระงับสิทธิในการสมัครสอบ 3 เดือน นับจากวันที่สมัครสอบล่าสุด
7. ค่าธรรมเนียมการสอบที่ชำระแล้วจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น