กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ PVD
PROVIDENT FUND

 เป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งด้วยความสมัครใจและได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพปี 2530  ประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสมและเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 2-15 ของค่าจ้างซึ่งนายจ้างต้องจ่ายสมทบไม่น้อยกว่าอัตราที่ลูกจ้างสะสมรวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้และผลประโยชน์จากเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่เสียชีวิตหรือออกจากงานหรือลาออกจากกองทุนไว้ใช้ในวัยหลังเกษียณทั้งนี้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากทรัพย์สินของนายจ้างและบริษัทจัดการ

 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการดังนี้

1. เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยเป็นการสร้างหลักประกันแก่ลูกจ้างและครอบครัวเมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุก็ยังมีเงินได้เพื่อยังชีพ

2. เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างรวมทั้งสร้างชื่อเสียงให้แก่นายจ้างว่ามีสวัสดิการที่มั่นคงและเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างทำให้ลูกจ้างอยู่กับนายจ้างนานขึ้น
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมการระดมเงินออมผูกพันระยะยาวจากภาคเอกชน Long term contractual saving เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยผ่านช่องทางการลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน

 ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

1. โครงสร้างของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนที่มีโครงสร้างและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากทั้งหน่วยงานรัฐนิติบุคคลคณะบุคคลสมาคมและบุคคลธรรมดาโดยมีรายละเอียดดังนี้

สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อรับจดทะเบียนกองทุนรวมทั้งเป็นผู้กำกับและดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องกลับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเช่น บริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สินคณะกรรมการกองทุน บริษัทจัดการ สมาชิกกองทุน

นายจ้าง
หมายถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลผู้ซึ่งตกลงกับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างและมีหน้าที่ร่วมกับสมาชิกกองทุนตั้งกองทุนแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฝ่ายนายจ้างและมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุน
ลูกจ้างหมายถึงผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างและมีสิทธิ์สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนโดยเมื่อสมัครเข้าร่วมสมาชิกกองทุนแล้วมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับกองทุนเช่นต้องนำส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตรวจสอบสิทธิ์ต่างๆตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับกองทุน

คณะกรรมการกองทุน
เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกอบด้วยเงินสะสมจากลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างดังนั้นกฎหมายจึงให้คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบด้วยบุคลากรจาก 2 ฝ่ายคือคณะกรรมการกองทุนที่แต่งตั้งจากนายจ้างและคณะกรรมการกองทุนที่ถูกเลือกตั้งจากลูกจ้าง

บริษัทจัดการ (บลจ)
หมายถึงธนาคารพาณิชย์บริษัทจัดการบริษัทเงินทุนบริษัทประกันบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหรือบริษัทตั้งใหม่ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารจัดการเงินของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนของกองทุนและจัดให้มีระบบการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานและการควบคุมที่ดี

ผู้รับฝากทรัพย์สิน
ได้เกรดธนาคารหรือสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนติดตามสิทธิประโยชน์ในเรื่องเงินปันผลและสิ่งต่างๆที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทที่กองทุนไปลงทุน

ผู้รับรองมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
คือผู้ที่ทำหน้าที่ทำการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานกลตให้เป็นผู้รับรองมูลค่า

นายทะเบียนสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ทำหน้าที่หลักในการดูแลจัดการข้อมูลในบัญชีของสมาชิกกองทุนแต่ละรายเช่นข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเงินสะสมเงินสมทบจากนายจ้างซึ่งนายทะเบียนสมาชิกจะส่งรายงานข้อมูลในบัญชีของสมาชิกให้แก่สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเช่นทุกงวด 6 เดือนของปีปฏิทินเป็นต้น

ผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและให้การรับรองงบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตุ้ยจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีซึ่งไม่อยู่ระหว่างถูกสภาวิชาชีพบัญชีสั่งพักใบอนุญาตการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตหรือไม่อยู่ระหว่างถูกสำนักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้สอบบัญชีและจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี

สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จัดตั้งขึ้นในปี 2543 เป็นการรวมตัวกันของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่างๆโดยเริ่มแรกจากการรวมตัวของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต่อมามีการขยายการรับสมาชิกในภาคเอกชนมีวิสัยทัศน์เป็นศูนย์รวมพลังและความคิดที่มุ่งสู่การพัฒนากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้มีประสิทธิภาพและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
จัดตั้งขึ้นเมื่อพฤษภาคม 2537 เป็นศูนย์รวมของบริษัทจัดการที่ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนรวมกองทุนส่วนบุคคลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างมาตรฐานและพัฒนาการประกอบธุรกิจจัดการลงทุนและตลาดทุนไทย

ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนเดี่ยว แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1. กองทุนที่มีบริษัทนายจ้างรายเดียว กองทุนลักษณะนี้เหมาะสมกับนายจ้างที่มีจำนวนลูกจ้างมากพอที่จะสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนของตนเองโดยไม่ต้องยิงกับนายจ้างอื่นมีอิสระในการกำหนดแก้ไขและเปลี่ยนแปลงแนวทางบริหารจัดการกองทุนโดยทั่วไปนายจ้างที่ต้องจัดตั้งกองทุนเดี่ยวจะมีขนาดกองเกินกว่า 100 ล้านบาท
2. กองทุนที่มีนายจ้างมากกว่า 1 รายแต่เป็นกลุ่มของนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันโดยมีรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนเหมือนกับกองทุนเดี่ยว

กองทุนร่วม
เป็นกองทุนที่มีบริษัทนายจ้างหลายได้ร่วมกันจดทะเบียนตั้งเป็น 1 กองทุนมีข้อจำกัดในการกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชื่อกองทุนแผนการลงทุนรวมถึงข้อบังคับกองทุนแต่สามารถกำหนดรายละเอียดหรือข้อกำหนดบางส่วนที่ใช้กับกองทุนเฉพาะส่วนของตนได้เช่นเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนอัตราเงินสะสมสมทบหรือหลักเกณฑ์ในการได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากนายจ้างเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิก

ผลประโยชน์ที่นายจ้างและสมาชิกกองทุนจะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายจ้าง
• ทำให้ลูกจ้างมีความรู้สึกดีและผูกพันต่อนายจ้างและเป็นแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานระยะยาวส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ลดภาระการบริหารงานของนายจ้างและทำให้ระบบการหมุนเวียนเงินสดของนายจ้างดีขึ้น
• ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกล่าวคือเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย

ลูกจ้าง 
• เป็นหลักประกันแก่ตนเองและครอบครัวเมื่อออกจากงานหรือเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ
• เพิ่มช่องทางในการออมระยะยาวเพื่อรองรับการเกษียณอายุ
• ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีค่าเงินสะสมที่นำส่งเข้ากองทุนและเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

นายจ้างและลูกจ้าง
• เงินที่กองทุนนำไปลงทุนแล้วเกิดผลประโยชน์ทั้งในรูปของดอกเบี้ยเงินปันผลกำไรและส่วนเกินทุนได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
• เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพ
• ช่วยส่งเสริมการระดมเงินออมผูกพันระยะยาวเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยผ่านช่องทางการลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน 

สิทธิประโยชน์เมื่อออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


เมื่อต้องออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สิ่งต้องศึกษาสิทธิของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อจะได้รับเงินคืนตามเงื่อนไขหรือข้อบังคับที่แต่ละกองทุนกำหนด

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สมาชิกกองทุนจะได้รับนั้น จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือข้อบังคับของแต่ละกองทุน ดังนั้น จึงควรตรวจสอบเงื่อนไขหรือข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วน

  ส่วนเงินสะสมและผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินส่วนนี้เป็นส่วนที่ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจ่ายสะสมเข้ากองทุนทุกเดือน รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินสะสม เมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง จึงทำให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินส่วนนี้เต็มจำนวนในทุกกรณี
 
  ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ เงินส่วนนี้เป็นส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือน เมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง เงินส่วนนี้จะได้คืนเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือข้อบังคับของแต่ละกองทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะกำหนดตามอายุงานหรือจำนวนปีที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานระยะยาว

ตัวอย่าง

อายุงานน้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 10%
อายุงานตั้งแต่ 1 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 2 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 20%
อายุงานตั้งแต่ 2 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 40%
อายุงานตั้งแต่ 3 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 50%
อายุงานตั้งแต่ 4 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 80%
อายุงานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 100%

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเงื่อนไข โดยเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง ในส่วนของเงินสะสมจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ในส่วนของผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากเงินสมทบจะต้องนำไปคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษี โดยเงื่อนไขแบ่งเป็น 3 กรณีตามอายุและจำนวนปีที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กรณีที่ 1 ออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี และอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพน้อยกว่า 5 ปี

กรณีนี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยต้องนำเงินที่ได้ทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ ผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากเงินสมทบ ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามปกติ

ตัวอย่าง
เงินสะสม = 500,000 บาท
ผลประโยชน์จากเงินสะสม = 50,000 บาท
เงินสมทบ = 500,000 บาท
ผลประโยชน์จากเงินสมทบ = 50,000 บาท
 
นำส่วนที่ 2+3+4 = 50,000 + 500,000 + 50,000 = 600,000 บาท ไปรวมกับเงินได้อื่นในปีนั้นเพื่อคำนวณภาษี

กรณีที่ 2 ออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี และอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

สามารถเลือกได้ว่า จะนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อยื่นภาษีหรือจะแยกคำนวณภาษีต่างหาก โดยการแยกคำนวณภาษีจะหักค่าใช้จ่ายแบบพิเศษ มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นำ 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน ขณะที่ ส่วนที่ 2 ให้นำเงินได้หักด้วยส่วนที่ 1 เหลือเท่าไหร่ให้คูณ 50% แล้วนำเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 2 ส่วนนี้ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สุทธิขั้นแรก 150,000 บาท)

ตัวอย่าง

สมมติ เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมา 10 ปี เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้แก่ ผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากเงินสมทบ ซึ่งต้องนำไปรวมเพื่อเสียภาษี เท่ากับ 600,000 บาท (ใช้ตัวเลขตัวอย่างเดียวกับกรณีที่ 1)

ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 1 :  7,000 x 10 = 70,000 บาท
ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 : (600,000 – 70,000) x 50% = 265,000 บาท
เงินได้สุทธิ = 600,000 – 70,000 – 265,000 = 265,000 บาท นำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  

กรณีที่ 3 : เกษียณอายุ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) และอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีทั้งจำนวน

คำแนะนำ  

สำหรับผู้ที่ออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี (กรณีที่ 1 และกรณีที่ 2) มีทางเลือกให้อีก 3 วิธี เพื่อลงทุนต่อจนกว่าอายุจะครบ 55 ปี เพื่อเข้าเงื่อนไขได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี  

คงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ซึ่งจะเสียค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้ที่ 500 บาทต่อปี
โอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่
โอนย้ายไปยังกองทุนรวม RMF for PVD
 

Checklist วางแผนออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนเกษียณ
คำนวณแผนเกษียณ หากเงินเกษียณยังไม่พอและยังออมไม่เต็มสิทธิ อาจพิจารณาเพิ่มอัตราการจ่ายเงินสะสม
ศึกษาเงื่อนไขหรือข้อบังคับกองทุน
ดูข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นประจำทุกปี เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุน
ทำประมาณการเงินที่จะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยจำนวนเงินที่จะได้รับของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุปัจจุบัน อายุเกษียณ เงินเดือน อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือน เพดานเงินเดือน อัตราเงินสะสม อัตราเงินสมทบ และผลตอบแทนจากการลงทุน
ปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับแผนเกษียณ ผลตอบแทนที่คาดหวัง และความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง เช่น ปรับน้ำหนักเงินลงทุน โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ เนื่องจากเป็นช่วงใกล้จะเกษียณ จึงเหลือระยะเวลาในการออมน้อย ควรลดความเสี่ยงลง
ศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีและทางเลือกในการจัดการเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเกษียณ

ติดต่อสอบถาม

image
โทร : 094-451-7465
Line ID : @erconsulting
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้