การวางแผนการลงทุน

' ลงทุน ' อย่างไร ' ลงทุนอะไรดี ' จึงจะประสบความสำเร็จ

          จริงๆแล้วการวางแผนการลงทุนถือเป็นหัวข้อใหญ่สำหรับในเรื่องการวางแผนทั้งหมดและก็เป็นหัวข้อที่ค่อนข้างสำคัญมากครับ  สำหรับคนที่กำลังก้าวเข้าสู่อาชีพนักวางแผนการเงิน ยิ่งในเรื่องของการวางแผนการลงทุนถ้าพูดในแง่ปัจจุบันค่อนข้างเป็นเรื่องที่เข้าถึงไม่ได้ยากครับแต่คนส่วนใหญ่มักแยกไม่ออกว่าสิ่งที่ทำอยู่คือการลงทุนหรือเปล่านะครับ

ก่อนอื่นผมขอมาทำความเข้าใจกับความหมายและความสำคัญของการลงทุนก่อน
ไปที่ความหมายของการลงทุนนะครับ


 

การลงทุนเป็นกระบวนการที่ผู้ลงทุนนำเงินที่โฉนดจากการใช้จ่ายในวันนี้ไปลงทุนไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์หรือแต่สันการเงินประเภทต่างๆเช่นตราสารทุนตราสารหนี้หรือด้วยวิธีการอื่นๆโดยมุ่งหวังเพื่อให้ได้รับกระแสเงินสดจากการลงทุนนั้นๆ 

 

ทำไมต้องลงทุน

 
การลงทุนอย่างถูกวิธีและมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง จะช่วยให้เรามีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นและสร้างความเร็วขึ้น การลงทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างดีจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนที่ได้รับจึงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น

 

กระบวนการวางแผนการลงทุน

ในกระบวนการวางแผนการลงทุนนั้นประกอบด้วยขั้นตอนประมาณ 6 ขั้นตอนด้วยกันได้แก่

1.การรวบรวมข้อมูลและประเมินเป้าหมายของการลงทุน
2.การวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และข้อจำกัดในการลงทุนของผู้รับคำปรึกษา
3.ออกแบบพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับผู้รับการปรึกษา
4.การจัดทำนโยบายการลงทุน
5.การลงทุนตามนโยบายการลงทุน
6.การติดตามและวัดผลการลงทุน

กระบวนการข้างต้นเป็นกระบวนการพื้นฐานที่นักวางแผนการเงินจะดำเนินการพูดคุยและขอข้อมูลจากลูกค้าเพื่อทำกระบวนการการลงทุนที่ถูกต้อง

 ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมและประเมินเป้าหมายความต้องการของผู้รับคำปรึกษา

เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการวางแผนการลงทุนถึงแม้ว่ากระบวนการวางแผนที่ดีอย่างไรก็ตามแต่หากข้อมูลที่รวบรวมมาไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้แผนการลงทุนพี่อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้รับคำปรึกษาได้ดังนั้นข้อมูลที่นักวางแผนการเงินต้องรวบรวมเพื่อประกอบการจัดทำแผนการลงทุนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1 ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ประกอบด้วยข้อมูลที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เป้าหมายและวัตถุประสงค์การลงทุน

เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมากๆนะครับในการจัดทำแผนการลงทุนในทางการปฏิบัตินักวางแผนการเงินมีความสำคัญอย่างยิ่งนะครับในการกำหนดเป้าหมายของผู้รับคำปรึกษาและเพื่อให้เป้าหมายทางการเงินของผู้รับคำปรึกษาบรรลุตามสิ่งที่ปรารถนาจะต้องแบ่งระยะเวลาในการลงทุนดังนี้

แบ่งตามระยะเวลาในการลงทุนได้ 3 ประเภทได้แก่

เป้าหมายระยะสั้น ส่วนใหญ่เป็นเป้าหมายที่มีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีต้องอ่านประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความต้องการสภาพคล่องได้แก่ความต้องการเงินสภาพคล่องไว้สำหรับจับจ่ายใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายระยะปานกลาง เป็นเป้าหมายที่มีระยะเวลาในการลงทุนตั้งแต่ 3 ปีแต่ไม่เกิน 7 ปีส่วนใหญ่เป็น ความต้องการเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาบุตร ความต้องการเงินสำหรับดาวส์ซื้อบ้าน
เป้าหมายระยะยาว เป็นเป้าหมายที่มีระยะเวลาการลงทุนมากกว่า 7 ปีขึ้นไปได้แก่ความต้องการเงินทุนสำหรับการเกษียณอายุ แบ่งตามผลตอบแทนที่ต้องการได้รับจากการลงทุน

   เพื่อความปลอดภัยของเงินทุนลักษณะนี้จะมุ่งคุ้มครองเงินต้นเป็นหลัก
เพื่อเพิ่มมูลค่าของเงินทุนเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ตนเองลงทุนมีมูลค่าเพิ่มเรื่อยๆตลอดระยะเวลาที่ลงทุน

   เพื่อเสถียรภาพของรายได้มีเป้าหมายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ใดๆก็ตามที่ให้กระแสเงินสดรับเข้ามาแน่นอนเป็นประจำสม่ำเสมอ


   เพื่อได้ผลตอบแทนรวมหมายความว่าผู้ลงทุนต้องการให้ระดับผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนมีความเหมาะสมไม่เน้นไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไปโดยการลงทุนผสมกันไประหว่างวัตถุประสงค์การลงทุนที่กล่าวมาข้างต้น


   เพื่อประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ลงทุนที่มีภาระภาษีเงินที่มีภาระภาษีเงินที่ไหนจำนวนที่สูงเป้าหมายการลงทุนจึงมุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีหรือการได้รับการยกเว้นภาษีผลตอบแทน
 

การกำหนดเป้าหมายการลงทุน

          ในการกำหนดเป้าหมายการลงทุนผู้รับคำปรึกษาส่วนใหญ่มักจะมีเป้าหมายเพื่อต้องการรักษามาตรฐานการดำเนินชีวิตของตนเองให้อยู่เท่าเดิมหรือดีมากขึ้นกว่าเดิมดังนั้นการกำหนดเป้าหมายจึงขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนบางคนอาจจะมีความต้องการในการดำเนินชีวิตแบบง่ายๆสบายสบายแต่บางคนอาจจะต้องการใช้ชีวิตแบบหรูหราหรือสะดวกสบาย นักวางแผนการเงินจะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายกับผู้รับคำปรึกษาเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตามสถานะของผู้รับคำปรึกษาโดยอาศัยคำถามง่ายๆในการใช้ในการกำหนดเป้าหมายของผู้รับการศึกษาดังนี้

คุณต้องการใช้เงินจำนวนเท่าไหร่เพื่อรักษารูปแบบการดำเนินชีวิตที่ต้องการ
รูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของคนอันไหนเหมาะสมกับฐานะการเงินของคุณ
คุณมีแหล่งการเงินอะไรบ้างที่สามารถใช้เป็นเงินทุนสำหรับการดำเนินชีวิตในแบบที่คุณต้องการและเป้าหมายทางการเงินอื่นๆของคุณ
 

หลักในการกำหนดเป้าหมายการลงทุน

          ในการกำหนดเป้าหมายการลงทุนควรกำหนดขึ้นบนพื้นฐานความสามารถของผู้รับคำปรึกษาควรมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของการของจำนวนเงินและระยะเวลาที่ต้องบรรลุเป้าหมายในแต่ละเป้าหมายตลอดจนควรมีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายที่ผู้รับคำปรึกษาต้องการบรรลุเนื่องจากผู้รับการปรึกษาบางรายอาจมีจำนวนเงินลงทุนที่จำกัดและมีการให้ความสำคัญในแต่ละเป้าหมายแตกต่างกันไปนอกจากนี้ในการกำหนดเป้าหมายนั้นไม่ควรมองข้ามเรื่องความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนของผู้รับคำปรึกษา

การจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายการลงทุน

เนื่องจากเป้าหมายของผู้รับคำปรึกษามีหลายเป้าหมายและแต่ละประมาทมีความสำคัญที่แตกต่างกันดังนั้นนักวางแผนการเงินควรที่จะแนะนำผู้รับคำปรึกษาจัดทำแผนการลงทุนที่มีความสำคัญสูงสุดก่อนและรอจนกว่าเป้าหมายที่สำคัญมากเสร็จจึงเริ่มทำการลงทุนเพื่อเป้าหมายที่สำคัญรองลงมา

  เป้าหมายที่มีระดับความสำคัญมากส่วนใหญ่จะเป็นเป้าหมายขั้นพื้นฐานในการวางแผนการเงินและหากไม่บรรลุเป้าหมายนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

  เป้าหมายที่มีระดับความสำคัญปานกลางส่วนใหญ่จะเป็นเป้าหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและหากไม่บรรลุเป้าหมายการลงทุนก็จะส่งผลกระทบกับผู้รับคำปรึกษาและบุคคลในครอบครัวบ้างแต่ไม่มากนักเช่น ต้องการเปลี่ยนรถคันใหม่ ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2

  เป้าหมายที่มีระดับความสำคัญน้อย เป็นเป้าหมายที่กำหนดเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการเท่านั้นเมื่อไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลงทุนก็ไม่ส่งผลกระทบกับมาตรฐานการดำเนินชีวิตของผู้รับคำปรึกษา
 

ข้อมูลเชิงปริมาณ

เป็นข้อมูลที่สำคัญไม่น้อยกว่าข้อมูลเชิงคุณภาพเนื่องจากข้อมูลเชิงปริมาณเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงระดับความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนได้เป็นอย่างดี สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณที่นักวางแผนการเงินจะต้องรวบรวมจากผู้รับคำปรึกษาเพื่อประกอบการจัดทำแผนการลงทุนที่สำคัญได้ดังนี้

สถานะการเงินของผู้รับคำปรึกษาในปัจจุบัน
ฐานะการเงินของผู้รับคำปรึกษาสามารถสะท้อนความพร้อมในการลงทุนของผู้รับการปรึกษาและระดับความต้องการสภาพคล่องภาระหนี้สินและความมั่นคงทางการเงินของผู้รับคำปรึกษาตลอดจนพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้รับคำปรึกษา

สถานะพอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน
นักวางแผนการเงินจะต้องหารือกับผู้รับคำปรึกษาในเรื่องเงินที่นำมาลงทุนว่ามีจำนวนเท่าไหร่แล้วต้องการนำหลักทรัพย์ลงทุนแบบไหนมาลงทุนบ้างต้องการจัดสรรเงินลงทุนหรือสินค้าประเภทไหนไปลงทุนในแต่ละเป้าหมายเป็นจำนวนเท่าไหร่อย่างไรซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้ผู้จัดการลงทุนง่ายต่อการบริหารจัดการนอกจากนี้พอร์ตการลงทุนในปัจจุบันของผู้รับคำปรึกษายังเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงทัศนคติของผู้รับคำปรึกษาได้อย่างหนึ่ง

อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
เมื่อนักวางแผนการเงินเพื่อทราบถึงความต้องการในการจัดสรรเงินของผู้รับคำปรึกษาแล้วทราบถึงจำนวนเงินและระยะเวลาที่ต้องการบรรลุเป้าหมายแล้วก็สามารถที่จะคำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่ต้องการได้
 

  ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และข้อจำกัดในการลงทุนของผู้รับคำปรึกษา

 
เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการวางแผนการลงทุนอีกขั้นตอนหนึ่งเนื่องจากระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในการลงทุนและข้อจำกัดในการลงทุนจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญตัวหนึ่งในการกำหนดสัดส่วนการลงทุนและเลือกหลักทรัพย์ลงทุนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้รับคำปรึกษาโดยผู้รับคำปรึกษาที่มีระดับ Risk Tolerance สูง ก็สามารถที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้ในสัดส่วนที่สูงในขณะที่ผู้รับคำปรึกษาที่มีระดับ Risk Tolerance ต่ำ สามารถลงทุนในหลักทรัพย์เสียงสูงได้ในสัดส่วนที่ลดลงมา

 
  ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับผู้รับคำปรึกษา

          เมื่อนักวางแผนการเงินดำเนินการวัดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในการลงทุนของผู้รับคำปรึกษาแล้วขั้นตอนต่อมานักวางแผนการเงินจะต้องออกแบบพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับ Risk Tolerance และข้อจำกัดในการลงทุนของผู้รับการปรึกษา  ซึ่งรูปแบบการจัดสัดส่วนเงินลงทุนนั้นมีหลากหลายและอยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่าผู้รับคำปรึกษามีระดับ Risk Tolerance สูงยอมลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสี่ยงในสัดส่วนที่สูงกว่า 

 
  ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำนโยบายการลงทุน

         เมื่อผู้รับการปรึกษาเลือกพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดแล้วขั้นตอนต่อมาคือการจัดทำนโยบายการลงทุนเพื่อให้เกิดกรอบและแนวทางให้กับผู้จัดการเงินลงทุนใช้เป็นเกณฑ์ในการดำเนินการลงทุนให้กับผู้รับคำปรึกษาหรือจัดเตรียมไว้ให้กับผู้รับคำปรึกษา ในการจัดทำนโยบายการลงทุนจะต้องมีรายละเอียดครอบคลุมถึงข้อมูลทั่วไปของผู้รับคำปรึกษาเป้าหมายการลงทุนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในการลงทุนแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนแนวทางการวัดผลการดำเนินงานแนวทางการปรับสัดส่วนเงินลงทุนในระยะสั้น

 
  ขั้นตอนที่ 5 การลงทุนตามนโยบายการลงทุน
 

          จัดทำนโยบายการลงทุนเสร็จแล้วจะต้องดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการลงทุนเพื่อดำเนินการลงทุนตามนโยบายการลงทุนของแต่ละก้าวหมายซึ่งเริ่มตั้งแต่แนวทางการปรับพอร์ตการลงทุนในปัจจุบันแนวทางในการเลือกผู้จัดการลงทุนแนวทางในการติดตามและวัดผลการลงทุน

 
  ขั้นตอนที่ 6 การติดตามและวัดผลการลงทุน


          เมื่อนักวางแผนการเงินจัดทำแผนการลงทุนให้กับผู้รับคำปรึกษาแล้วนัดวางแผนการเงินจะต้องมีการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้รับคำปรึกษาซึ่งอาจจะกำหนดเป็นรายเดือนรายไตรมาสทุก 6 เดือนหรือ 1 ปีก็ได้แต่อย่างน้อยควรจะมีการรีวิวแผนเป็นประจำทุกปีเพื่อจะดำเนินการปรับเปลี่ยนหรือหาแนวทางแก้ไขในกรณีที่แผนการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนด

ทั้งหมดเป็นแนวทางในการวางแผนการลงทุนตามหลักของนักวางแผนการเงิน ซึ่งนักวางแผนการเงินจะต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ 

ปรึกษาที่ปรึกษาการเงินหรือนักวางแผนการลงทุน เพื่อให้เราสามารถบรรลุได้เป้าหมายได้ถูกต้องและง่ายขึ้น โดยสามารถกรอกข้อมูลและประเมินความเสี่ยง จากลิ้ง ด้านล่างนี้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้